Printer
ขาย เครื่องพิมพ์ ปริ้นเตอร์ (Printer) ราคาถูก ทุกรุ่น ทุกโมเดล ทุกแบรนด์ รับประกันแท้จากศูนย์โดยตรง บริการจัดส่งฟรี โดยตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้อง พร้อมให้คำปรึกษาในทุกๆ การใช้งาน
L Series
Ink Tank
DocuPrint
Neverstop Laser
Neverstop Laser
ขาย Printer เครื่องพิมพ์ ราคาพิเศษ โดยตัวแทนจำหน่าย
จำหน่ายเครื่องปริ้น Printer ทุกแบรนด์ สำหรับใช้ในบ้านและสำนักงาน ราคาถูกที่สุด โดยตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้อง มั่นใจได้ว่าตัวเครื่องเป็นของแท้ รับประกันศูนย์ ติดต่อเราเพื่อสั่งซื้อ หรือขอราคาพิเศษได้สำหรับทั้งขายส่งและขายปลีก
ในกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์ คือเครื่องจักรที่ใช้พิมพ์ภาพกราฟฟิคหรือข้อความ ลงบนวัสดุตามที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่จะพิมพ์ลงกระดาษ และเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้ อย่างไรก็ตาม ก็มีเครื่องพิมพ์บางประเภทที่พิมพ์ภาพที่อ่านออกด้วยเครื่องจักรเท่านั้น อาทิเช่น เครื่องปริ้นบาร์โค้ด เป็นต้น
ปริ้นเตอร์นั้นมีหลายประเภทมาก แล้วแต่การเลือกใช้งาน เพราะแต่ละแบบก็ทำงานได้ในฟังก์ชั่นที่แตกต่างกัน อาทิเช่น 3D, Inkjet, Laser, Thermal และ อื่นๆ อีกมากมาย
ประวัติความเป็นมา
เครื่องจักรที่ออกแบบมาสำหรับการพิมพ์ด้วยหมึก ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ถูกคิดค้น และจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี 1962 โดย C.R Winston ในรูปแบบ Inkjet โดยลักษณะการทำงานเป็นแบบ Stamp Pad ปั๊มหมึก สมัยนั้นเรียกเครื่องชนิดนี้ว่า Teletype โดยเริ่มมีการนำมาวางจำหน่ายสู่ตลาดทั่วไปในปี 1966
> อ่านบทความ Inkjet Printer คืออะไร
ในเวลาต่อมา EP-101 โดย Epson บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็น Electronic Printer เครื่องแรกของโลก ก็กำเนิดขึ้นในปี 1968 โดยในยุคนั้น ผู้คนก็จะนิยมใช้งานปริ้นเตอร์กันอยู่ 2 แบบได้แก่ พิมพ์ดีดไฟฟ้า และ Teletype นั่นเอง
ในเวลาต่อมา แบรนด์ต่างๆ เริ่มแข่งขันกันทำเวลาในการพิมพ์ให้เร็วขึ้น ทำให้เกิดระบบการพิมพ์แบบใหม่สำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะในปี 1980 เรียกว่า Daisy Wheel System ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายๆ พิมพ์ดีด ทำงานได้รวดเร็วมาก และแบบ Dot Matrix System ที่สามารถพิมพ์ได้ทั้งข้อความและรูปกราฟฟิค อย่างไรก็ตาม คุณภาพงานพิมพ์ของ ปริ้นเตอร์ ทั้งสองแบบนี้ไม่ได้สวยงามมาก จึงกำเนิดปริ้นเตอร์แบบ Plotter ขึ้นมา สำหรับงานพิมพ์ละเอียดๆ อย่างเช่นแปลนผังพื้นบ้าน เป็นต้น
> อ่านบทความ Dot Matrix Printer คืออะไร
กำเนิดรุ่น Low-Cost
ในปี 1984 ก็กำเนิด เครื่องพิมพ์แบบ Low-Cost เทคโนโลยี Laser สำหรับใช้งานตามบ้านและบริษัททั่วไปรุ่นแรก ได้แก่ HP LaserJet ที่เราคุ้นเคยกัน ตามมาด้วย LaserWrite ของฝั่ง Apple ติดๆ ในปีถัดมา ชื่อเรียกสมัยนั้นของปริ้นเตอร์รุ่นประหยัดเหล่านั้นได้แก่ Desktop Publishing เทคโนโลยี Laser นั้น ใช้ PostScript ที่มีข้อมูล Text และ Graphic ผสมกันเหมือน Dot-Matrix Printer แต่ได้คุณภาพงานพิมพ์ที่สวยงามคมชัดกว่า
> อ่านบทความ วิธีการทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์
ในปี 1988 ก็กำเนิด HP Deskjet เป็นปริ้นเตอร์รุ่นแรกที่ใช้เทคโนโลยี Inkjet ซึ่งถ้าเทียบกับแบบ Laser แล้ว จะให้คุณภาพงานที่ลดลง แต่ราคาถูกลงอย่างมหาศาล เทคโยโลยี Inkjet นั้นค่อยๆ เข้ามาแทนที่ Dot Matrix และ Daisy Wheel ในตลาด จนในปี 2000s ก็สามารถเอาชนะได้ในที่สุด
LaserJet รุ่นแรก
DeskJet รุ่นแรก
ในยุค 1990s ถึง 2000s นั้น ด้วยความนิยมในการใช้งาน Internet และ Email ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้ความต้องการใน Printer เปลี่ยนไปเป็นการพิมพ์งานพวกเอกสาร ปัจจุบันนี้ ถึงแม้การเข้ามาของ e-book และ Tablet จะทำให้การพิมพ์เป็นสิ่งจำเป็นน้อยลง แต่เครื่องพิมพ์ก็ยังคงเป็นที่ต้องการ โดยเฉพาะงานเฉพาะทาง เช่น การปริ๊นรูปถ่ายหรือ Artwork เป็นต้น
ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมาการพิมพ์สามมิติหรือ 3D Printing เริ่มได้รับความนิยม ช่วยให้ผู้ใชงานสามารถสร้างวัตถุที่มีความหนาลึกตื้นบางได้ ถือเป็นชนิดปริ้นเตอร์ที่น่าสนใจมากๆ และกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี
ชนิดของเครื่องพิมพ์
Personal Printer นั้น เบื้องต้นจะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานแบบส่วนตัว และอาจใช้งานโดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว (บางรุ่นอาจออกแบบให้ปริ้นงานจาก Memory Card, กล้องดิจิตอล หรือสแกนเนอร์ได้) เครื่องพิมพ์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่องานพิมพ์ที่ไม่เยอะจนเกินไป และตั้งค่าได้อย่างง่ายดายรวดเร็วในการพิมพ์งานแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะทำงานได้ช้ามากๆ เพียง 6 - 25 แผ่นต่อนาที (ppm) และราคาปริ้นต่อแผ่นค่อนข้างแพง กลุ่มนี้ัมักนิยมใช้งานกันในบ้าน หรือบริษัทเล็กๆ
Network หรือ Share Printer นั้น ออกแบบเพื่อการพิมพ์งานปริมาณเยอะๆ และมีระยะเวลาในการพิมพ์ที่รวดเร็ว มักใช้งานโดย User หลายๆ คน สั่งการผ่านระบบเครือข่าย ความเร็วในการปริ๊นมักอยู่ที่ 45 - 100 แผ่นต่อนาที (ppm) บางรุ่นที่คุณภาพสูงๆ เช่น Xerox 9700 สามารถปริ๊นได้ถึง 120 แผ่นต่อนาที กลุ่มนี้มักนิยมใช้งานกันในบริษัทหรือองค์กรทุกระดับ
ชนิดอื่นๆ ที่น่าสนใจ
Virtual Printer คือ Software Computer ที่สามารถประมวลผล Printer Driver ได้ โดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่อหรือทำงานผ่าน Hardware จริงๆ มักใช้ในการสร้างไฟล์ตัวอย่างก่อนปริ้นจริง หรือที่เราคุ้นเคยกัน คือการ Print Preview นั่นเอง การ Create PDF ก็ถือเป็น เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ เช่นกัน
> เลือกซื้อ Adobe Acrobat ลิขสิทธิ์แท้
Barcode Printer คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับพิมพ์บาร์โค้ด ลงบนวัตถุ หรือสติกเกอร์ มักใช้งานเพื่อปริ๊นลงฉลากสินค้าก่อนนำส่งไปจำหน่าย ในวงการ Retail ร้านค้านั่นเอง
3D Printer คืออุปกรณ์ที่ใช้สร้างวัตถุสามมิติ จากโมเดล 3D จำลอง หรือข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ อาจจะใช้วิธีการสร้าง Layer ลงบนวัสดุที่ต้องการ (เช่นพลาสติค, เหล็ก, อาหาร, ไม้ และอื่นๆ) หรือสร้างขึ้นมาเลยจากเส้นพลาสติก (3D Filament) ปากกาสามมิติก็ถือเป็น ปริ้นเตอร์ ชนิดนี้เช่นกัน
ทาง Addin.co.th ภายใต้บริษัท แอดอิน บิซิเนส จำกัด เราก็มีจำหน่ายเครื่องพิมพ์และปากกา 3 มิติเช่นกัน หากลูกค้าสนใจปรึกษาหรือสอบถามเพิ่มเติม สามารถ ติดต่อเราได้ที่นี่
ตัวอย่างเครื่องพิมพ์สามมิติ
เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่
ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีปริ้นเตอร์ที่ใช้กันมากมาย อาทิเช่น
Toner-Based
Laser Printer ที่เราคุ้นเคย ก็เป็นหนึ่งในประเภทของเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีตัวนี้นั่นเอง จุดเด่นคืองานพิมพ์ที่ได้คุณภาพสูง บางรุ่นอาจมีการทำงานแบบ Multifunction คือสามาร Print, Copy, Scan และ Fax ได้ในตัว
> เลือกซื้อ เครื่องพิมพ์แบบ Multifunction
เครื่องพิมพ์อีกชนิดที่ใช้ Toner-Based ได้แก่ แอลอีดี ปริ้นเตอร์ ที่จะใช้เทคโนโลยี LEDs แทนที่เลเซอร์ในการช่วยให้หมึกยึดเกาะกับ Drum
Liquid Inkjet
คือเทคโนโลยีที่ Inkjet Printer ใช้นั่นเอง มีวิธีการทำงานโดยการหยดหมึกหลายๆ ขนาดลงบนหน้าวัสดุ เป็นประเภทของคอมพิวเตอร์ปริ้นเตอร์ที่นิยมใช้งานที่สุดในลูกค้ากลุ่ม Consumer
Solid Ink
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีการถ่ายเทความร้อนเข้ามาช่วยในการพิมพ์ มักใช้หมึกแบบ CMYK มักนิยมใช้งานเพื่อพิมพ์งานสีใน Office เป็นประเภทที่ไม่ค่อยมีแบรนด์ไหนทำ (มีเพียง Xerox เท่านั้น) โดยถือเป็นประเภทแม่แบบของเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติ รวมถึง 3D Pen ด้วย
Dye-Sublimation
เป็นเทคโนโลยีสำหรับการพิมพ์สิ่งทอ อาศัยการระเหิด และความร้อนในการส่งหมึกลงสู่วัสดุที่ต้องการ มักจะพิมพ์ได้ทีละสี นิยมใช้งานกับงานที่ต้องการคุณภาพสูงมากๆ เช่น ภาพถ่าย เป็นต้น
Thermal
Thermal Printer ทำงานด้วยการจับความร้อนบนกระดาษ เครื่องพิมพ์ประเภทนี้นิยมทำเป็นแบบขาวดำหรือ Monochrome สำหรับใช้งานนเครื่องแคชเชียร์, ATM และเครื่องแฟกส์สมัยก่อน
สเปคและคุณลักษณะ
การที่จะเลือกซื้อ เครื่องพิมพ์ สักเครื่องหนึ่ง นอกจากจะต้องคำนึงถึงชนิดที่ต้องการแล้ว ก็มีคุณลักษณะหรือ Specification อื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญอีก ดังนี้
Control Language
ปริ้นเตอร์ส่วนใหญ่แล้ว จะรองรับ Character แบบ Control หรือ Unique เพื่อควบคุมฟังก์ชั่นการพิมพ์ ในอดีตนั้น Control Language ยังไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน เพราะผู้ผลิตแต่ละเจ้าก็มีระบบเป็นของตนเอง สำหรับ Dot-Matrix Printer นั้น PPDS ของ IBM จะเป็นมาตรฐานการใช้งานในสมัยนั้น
ปัจจุบัน เครื่องปริ้นส่วนใหญ่จะรองรับ PDLs กลุ่มเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะรองรับ PCL, PostScript หรือ XML ในขณะที่กลุ่ม Inkjet จะรองรับ ESC/P
Printing Speed
ความเร็วในการพิมพ์ในสมัยก่อน จะวัดเป็นจำนวนตัวหนังสือต่อนาที (cpm) หรือบรรทัดต่อนาที (lpm) แต่ ปริ้นเตอร์สมัยใหม่ จะวัดเป็นจำนวนหน้าต่อนาที (ppm) โดยส่วนใหญ่ค่าที่เอามาเทียบกันจะเป็นการพิมพ์ Monochrome หรือขาวดำ และกระดาษขนาด A4
Printing Mode
ข้อมูลที่เครื่องพิมพ์รับ สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่
- ตัวหนังสือ
- ภาพ Bitmapped
- ภาพเวคเตอร์
- คอมพิวเตอร์โปรแกรมในภาษาเฉพาะทาง เช่น PCL หรือ PostScript
ซึ่งเครื่องพิมพ์บางชนิดก็รองรับได้ทุกโหมด บางชนิดก็รองรับได้แค่บางโหมด ส่วนใหญ่เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์และอิงค์เจ็ทสมัยใหม่ จะรองรับได้หมด
Monochrome, Color และ Photo
ปริ้นเตอร์แบบโมโนโครม สามารถพิมพ์ได้เพียงแค่สีเดียว ส่วนมากจะเป็นสีดำ แต่ปรับความเข้มอ่อนได้ ในขณะที่ ปริ้นเตอร์สี (Color) สามารถพิมพ์สีได้หลากหลาย ในส่วนของ Photo Printer นั้น จะพิมพ์ผลงานออกมาได้ Range สีที่กว้างที่สุด และมีความละเอียดมากที่สุด
Page Yield
คือปริมาณหน้าที่สามารถพิมพ์ได้จากหมึกหนึ่งชุด ก่อนที่จะต้องเติม ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงของ Page Yield นั้นมีหลายปัจจัยมากๆ ในการวัด
Economics
ถ้าต้องการเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการเลือกซื้อปริ้นเตอร์แต่ละรุ่นมาเทียบกัน ไม่ควรจะเทียบแต่ราคาเครื่องเท่านั้น ต้องเทียบราคาหมึก และจำนวนหน้าที่พิมพ์ออกมาด้วย โดยค่าที่นิยมใช้กันคือ ต้นทุนต่อหน้าหรือ Cost per Page (CPP)
Wireless
การเชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องพิมพ์ เพื่อสั่งปริ้นนั้น มีอยู่ 3 ช่องทางหลักๆ ได้แก่ การเชื่อมต่อโดยตรงด้วยสาย Cable, สั่งปริ้นผ่านระบบเครือข่าย และการสั่งพิมพ์ผ่านระบบไร้สาย
ปัจจุบัน มากกว่าครึ่งหนึ่งของ Printer ที่วางจำหน่าย จะรองรับการสั่งการแบบไร้สาย หรือ Wireless หมดแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้งานกลุ่ม Consumer จะยังไม่ค่อยเลือกซื้อมาใช้กัน อาจจะเพราะยังไม่คุ้นเคยหรือราคาแพง
จำหน่ายสินค้าไอทีทุกชนิด
Addin.co.th ภายใต้ บริษัท แอด อิน บิซิเนส จำกัด เรามีการ ขายอุปกรณ์ไอที ทุกชนิด ทุกแบรนด์ ของแท้ รับประกันศูนย์มาตั้งแต่ปี 1993 โดยเน้นให้บริการการใช้งานทั้งในกลุ่มองค์กรและบุคคล ในราคาถูกที่สุดพร้อมบริการจัดส่งฟรี นอกจากนี้ เรายังมีบริการงานติดตั้ง วางระบบ ดูแลอุปกรณ์อีกด้วย
ให้คำปรึกษาฟรี
ทีมงานของเรามีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้น หรือมองหา Solution ต่างๆ อย่างครบวงจร พร้อมเซอร์วิสบริการทั้งก่อนและหลังการขายถึงสถานที่